วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

สมุนไพรไล่ยุง 610

บทที่  1
บทนำ

แนวคิดที่มาและความสำคัญ
              ยุง (MOSQUITOES) ยุงเป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกแต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น จากหลักฐานทางฟอสซิลสามารถสันนิษฐานได้ว่า ยุงได้ถือกำเนิดขึ้นในโลกตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์เมื่อประมาณ 38-54 ล้านปีมาแล้ว ปัจจุบันพบว่าในโลกนี้มียุงประมาณ 3,450 ชนิด ส่วนในประเทศไทยพบว่ามียุงอย่างน้อย 412 ชนิด มีชื่อเรียกตามภาษาไทยแบบง่าย ๆ คือ ยุงลาย ( Aedes ) ยุงรำคาญ ( Culex ) ยุงก้นปล่อง ( Anopheles ) ยุงเสือหรือยุงลายเสือ ( Mansonia ) และ ยุงยักษ์หรือยุงช้าง ( Toxorhynchites ) ซึ่งไม่ครอบคลุมสกุลของยุงทั้งหมดที่มีอยู่ ส่วน ยุงด า ที่ปรากฏในต ารางเรียนของกระทรวงศึกษานั้นไม่สามารถระบุได้ว่าหมายถึงยุงอะไรจึงควรตัดออก ยุงเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กโดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาว 4-6 มม . บางชนิดมีขนาดเล็กมาก 2-3 มม . และบางชนิดอาจยาวมากกว่า 10 มม . ยุงมีส่วนหัว อก และท้อง มองเห็นได้อย่างชัดเจนและสามารถแยกออกจากแมลงชนิดอื่น ได้อย่างง่ายๆ โดยสังเกตจากรูปพรรณสัณฐาน ดังต่อไปนี้คือ มีปากคล้ายงวง ยื่นยาวออกไปข้างหน้า และมีปีกสำหรับบิน 1 คู่ ยุงมีวงจรชีวิตแบบสมบูรณ์ (holometabolous) ซึ่งประกอบด้วย ไข่ (egg) ลูกน้ำ (larva; พหูพจน์ =larvae) ตัวโม่ง (pupa; พหูพจน์ =pupae) และยุงตัวแก่ (adult) ยุงเมื่อลอกคราบออกจากระยะตัวโม่งได้ไม่กี่นาทีก็สามารถออกบินได้เลย อาหารที่ใช้ในระยะนี้ของทั้งตัวผู้และตัวเมียเป็นน้ำหวานจากดอกไม้หรือต้นไม้ การผสมพันธุ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในอากาศ บางชนิดการผสมพันธุ์เกิดขึ้นในขณะที่ยุงตัวผู้มีการบินวนเป็นกลุ่ม (swarming) โดยเฉพาะเวลาหัวค่ำและใกล้รุ่ง ตามพุ่มไม้ บนศีรษะ ทุ่งโล่ง หรือบริเวณใกล้กับเหยื่อ เป็นต้น และตัวเมียจะบินเข้าไปเพื่อผสมพันธุ์ ยุงตัวเมียส่วนใหญ่ผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวโดยที่เชื้ออสุจิจากตัวผู้จะถูกกักเก็บในถุงเก็บน้ำเชื้อ ซึ่งสามารถใช้ไปได้ตลอดชีวิตของมัน ส่วนยุงตัวผู้สามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง ยุงตัวเมียที่จับได้ตามธรรมชาติมักมีเชื้ออสุจิอยู่ในถุงเก็บน้ำเชื้อเสมอ ยุงตัวเมียเมื่อมีอายุได้ 2-3 วันจึงเริ่มออกหากินเลือดคนหรือสัตว์เพื่อนำเอาโปรตีนและแร่ธาตุไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตของไข่ในรังไข่ แต่มียุงบางชนิดที่ไม่จำเป็นต้องกินเลือดก็สามารถสร้างไข่ในรังไข่ได้ เช่น ยุงยักษ์ เลือดที่กินเข้าไปถูกย่อยหมดไปในเวลา 2-4 วัน แต่ถ้าอากาศเย็นลงการย่อยจะใช้เวลานานออกไป เมื่อไข่สุกเต็มที่ยุงตัวเมียจะหาแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการวางไข่ หลังจากวางไข่แล้วยุงตัวเมียก็ออกดูดเลือดใหม่และวางไข่ได้อีก บางชนิดที่มีอายุยืนมากอาจไข่ได้ร่วม 10 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 4-5 วัน แต่อาจเร็วกว่าหรือนานกว่า ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและชนิดของยุง ส่วนยุงตัวผู้ตลอดอายุขัยจะกินอาหารจากแหล่งน้ำหวานของดอกไม้หรือพืชที่ผลิตน้ำตาลในธรรมชาติ ในภูมิประเทศเขตร้อนตัวโม่งจะใช้เวลา 2-4 วัน ยุงตัวเต็มวัยลอกคราบออกมาไม่กี่นาทีก็สามารถบินได้ ยุงตัวเมียบางชนิดชอบกัดกินเลือดคน philic) บางชนิดชอบกินเลือดสัตว์ (zoophilic) บางชนิดกัดดูดเลือดโดยไม่เลือก ยุงสามารถเสาะพบเหยื่อได้โดยอาศัยปัจจัยหลายประการ เช่น กลิ่นตัว คาร์บอนไดออกไซด์ ( ที่ออกมาจากลมหายใจ ) หรืออุณหภูมิของร่างกาย นิสัยการกินเลือดของยุงมีความสำคัญในด้านการแพร่เชื้อโรคหรือปรสิตต่าง ๆ ยุงส่วนมากจะบินกระจายจากแหล่งเพาะพันธุ์ไปได้ไกลออกไปในรัศมีประมาณ 1-2 กิโลเมตร โดยบินทวนลมตามกลิ่นเหยื่อไป กระแสลมที่แรงอาจทำให้ยุงบางชนิดแพร่ออกจากแหล่งเพาะพันธุ์ไปได้ไกลยิ่งขึ้น ในปัจจุบันยุงสามารถแพร่ไปจากประเทศหนึ่งไปสู่ประเทศหนึ่งหรือทวีปหนึ่งไปยังอีกทวีปหนึ่ง โดยอาศัยเครื่องบิน เรือหรือรถยนต์โดยสาร
              ในประเทศเขตร้อน ยุงตัวเมียส่วนใหญ่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ 2-3 สัปดาห์ หรือถ้าอุณหภูมิ ความชื้นและแสงสว่างเหมาะสมก็อาจนานถึง 4-6 สัปดาห์ หรือนานกว่านี้ ส่วนยุงตัวผู้โดยทั่วไปมีอายุประมาณ 1 สัปดาห์ ยุงก้นปล่องมีความสำคัญในทางการแพทย์โดยเฉพาะเป็นพาหนะโรคมาลาเรีย ในประเทศไทยเท่าที่พบในปัจจุบันมียุงก้นปล่องอย่างน้อย 73 ชนิด แต่มีเพียง 3 ชนิดที่เป็นพาหนะสำคัญ สังเกตยุงชนิดนี้ได้ง่ายเวลามันเกาะพัก จะยกก้นชี้เป็นปล่อง ยุงลายที่พบตามบ้านเรือนหรือชนบท ( Aedes. aegypti, และ Aedes albopictus ) เป็นพาหนะสำคัญของโรคไข้เลือดออก ส่วนยุงลายป่าเป็นพาหะโรคเท้าช้าง ยุงลายชนิด Ae. aegyptiหรือ ยุงลายบ้าน พบบ่อยเป็นประจำในเขตเมือง มีขนาดค่อนข้างเล็ก บินได้ว่องไว บน scutum มีลายสีขาวรูปเคียว 2 อันอยู่ด้านข้าง มีขาลายชัดเจน ยุงชนิดนี้เพาะพันธุ์ในภาชนะที่มีน้ำขังทุกขนาดทั้งในและนอกบ้าน ชอบกัดกินเลือดคนมากกว่ากินเลือดสัตว์ มักหากินเวลากลางวันช่วงสายและบ่าย ยุงลายชอบเข้ากัดคนทางด้านมืดหรือที่มีเงาโดยเฉพาะบริเวณขาและแขน ขณะที่กัดมักไม่ค่อยรู้สึกเจ็บ คนถูกกัดจึงไม่รู้สึกตัว ยุง Ae. aegyptiกัดทั้งในบ้านและนอกบ้าน และเกาะพักตามมุมมืดในห้อง โอ่ง ไห หรือตามพุ่มไม้ที่เย็นชื้น ยุงลายอีกชนิดหนึ่ง คือ Ae. albopictusพบได้ทั่วไปในเขตชานเมือง ชนบทและในป่า มีลวดลายที่ scutum แตกต่างจาก Ae. aegypti คือมีแถบยาวสีขาวพาดผ่านตรงกลางไปตามความยาวของลำตัว เพาะพันธุ์ในภาชนะที่มีน้ำขัง กระบอกไม้ โพรงไม้ กะลามะพร้าว ใบไม้ ฯลฯ ยุงชนิดนี้มีอุปนิสัยคล้าย ๆ กับ Ae. aegyptiแต่มีความว่องไวน้อยกว่ายุงรำคาญมีหลายชนิดที่ไม่ใช่ก่อความรำคาญเพียงอย่างเดียว แต่เป็นพาหะที่สำคัญของทั้งไวรัสไข้สมองอักเสบและโรคเท้าช้าง ลูกน้ำยุงรำคาญมักอาศัยอยู่ในน้ำไม่ว่าจะเป็นน้ำนิ่งหรือน้ำไหล ที่ค่อนข้างสกปรกที่มีไนโตรเจนสูงหรือมีการหมักเน่าของพืช ยุงรำคาญ ที่พบบ่อยในเขตเมือง ได้แก่ Culex quinquefasciatusเป็นยุงสีน้ำตาลอ่อน เพาะพันธุ์ในน้ำเสีย ตามร่องระบายน้ำ คูและหลุมบ่อต่าง ๆ ยุงรำคาญพบบ่อยในชนบท ได้แก่ Cx. tritaeniorhynchusและ Cx. vishnu, เนื่องจากมีท้องนาเป็นแหล่งเพาะพันธุ์หลัก โดยเฉพาะช่วงที่ไถนา และบริเวณหญ้าแฉะรกร้าง จึงมีมากในฤดูฝน ยุงชนิดนี้ชอบกัดสัตว์ พวกวัว ควายและหมูมากกว่าคน นอกจากก่อความรำคาญแล้วยังเป็นพาหนะนำโรคไข้สมองอักเสบ ยุงที่ก่อความรำคาญอีกสกุลหนึ่งที่มักกัดในเวลาพลบค่ำ มีขนาดใหญ่บินช้าๆ และกัดเจ็บ คือ ยุง Armigeres ไม่มีชื่อภาษาไทย ยุงลายเสือหรือยุงเสือ ลำตัวและขามีลวดลายค่อนข้างสวยงาม บางชนิดมีสีเหลืองขาวสลับดำคล้ายลายของเสือโคร่ง เช่น Ma. uniformis บางชนิดมีลายออกเขียว คล้ายตุ๊กแก เช่น Ma. annulifera ยุงเหล่านี้ชอบเพาะพันธุ์ในบริเวณที่เป็นหนอง คลอง บึง สระ ที่มีพืชน้ำพวก จอกและ ผักตบชวา อยู่ ยุงลายเสือหลายชนิดเป็นพาหะของโรคเท้าช้างในภาคใต้ของประเทศไทย บางชนิดเป็นพาหะบริเวณชายแดนไทย - พม่า
              ในประเทศไทยมียุงเป็นพาหนะนำโรคอยู่มากเนื่องจากสภาพแวดล้อมเหมาะกับการเจริญเติบโตของยุง ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตมาก กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงธารณสุขจึงไดจัดทำโครงการควบคุมยุงในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 จนถึงปัจจุบัน จากการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2551ในรอบ10สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงวันที่ 8 มีนาคม ทั่วประเทศมีรายงานผู้ป่วยแล้ว 5,836 ราย เสียชีวิต 7 รายจำนวนผู้ป่วยสูงกว่าช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 77 พบในภาคกลางมากที่สุด 3,669 ราย เสียชีวิต 6 รายรองลงมาคือภาคใต้ป่วย 1,015 ราย เสียชีวิต 1 ราย ภาคเหนือป่วย 655ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือป่วย 498 ราย ส่วน
              ใน กทม. พบป่วย 1,037 ราย ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิต การป้องกันและควบคุมยุงในปัจจุบันนี้จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆและสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก สำหรับประเทศไทยนั้น เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ประเทศของเรามีพืชพรรณไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือนำมาเพาะปลูกได้ไม่น้อยกว่า 20,000ชนิด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 8 ของพืชพรรณไม้ที่มีอยู่ในโลกนี้ และมีพืชพรรณไม้ไม่น้อยกว่า 500 ชนิด ที่บรรพบุรุษของเราไดคัดเลือกมาอย่างชาญฉลาด เพื่อนำมาใช้เป็นอาหารและสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ถือเป็นบรรพบุรุษของการวิจัย ที่ชี้และเน้นให้เห็นของขุมทรัพย์อันมีค่าของพืชสมุนไพรที่คนยุคใหม่อย่างพวกเราสามารถนำมาศึกษาวิจัยต่อยอด หรือนำมาเพื่อประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆได้อีกมากมายสมุนไพรหรือพืชพื้นบ้านหลายชนิดที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ตะไคร้หอม เปลือกส้ม เปลือกมะกรูด เตย และ ขมิ้น ซึ่งมีสารเคมีที่สามารถใช้ในการกำจัดลูกน้ำได้ จากการสังเกตเห็นว่า ตะไคร้หอมมีฤทธิ์ในการไล่ยุงได้ดี ตะไคร้หอมมีประสิทธิภาพสูงในการไล่ยุงซึ่งเป็นพาหนะสำคัญในการน าโรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเลีย และโรคอื่นๆในประเทศไทยและต่างประเทศ ข้อดีของตะไคร้หอมอีกอย่างหนึ่งคือมีกลิ่นหอมไม่ก่อให้เกิดมลภาวะมีความคงตัวทางชีวภาพสูงเก็บรักษาไว้ได้นานโดยที่การออกฤทธิ์ไล่ยุงยังมีประสิทธิภาพดี ดังนั้นการทดลองครั้งนี้ได้ศึกษาสมุนไพรที่สามารถไล่ยุงได้ เพื่อช่วยในการไล่ยุงไม่ให้ยุงกัดและแพร่เชื้อ ซึ่งจะนำมาสู่โรคต่างๆได้ การป้องกันยุงกัดเป็นวิธีที่สามารถลดความรำคาญที่เกิดจากยุงและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่มียุงเป็นพาหะ
              ภาวะโลกร้อนซึ่งกำลังคุกคามไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย  ได้ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกเพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นในทุกๆปีก่อให้เกิดการระบาดโรคที่มีแมลงเป็นพาหะ  โดยเฉพาะยุงที่มีวงจรชีวิตสั้นลงขยายพันธุ์มากครั้งขึ้น  นี่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มาลาเรียฟื้นคืนกลับมาสร้างปัญหาให้โลกใบนี้อีกครั้ง
               “ยุงเป็นแมลงสองปีกขนาดเล็ก ในวงการกีฏวิทยาการแพทย์จัดให้ยุงมีความสำคัญสูงสุดในฐานะพาหะนำโรคติดต่อร้ายแรงและเป็นแมลงที่อันตรายที่สุดต่อชีวิตเรา เพราะทำให้ผู้คนเสียชีวิตหลายล้านคนต่อปีเช่น โรคมาลาเรียเป็นสาเหตุการเสียชีวิตทั่วโลกมากกว่า 3 ล้านคนต่อปี โดยเฉพาะเด็กมีอัตราการตาย 1 คนทุก 40  วินาที และเจ็บป่วย 300-500 ล้านรายต่อปี สำหรับไข้เด็งกี่มีผู้ป่วย 50-100 ล้านรายต่อปี เป็นไข้เลือดออก 500,000 รายและเสียชีวิต 20,000-25,000 คนต่อปี เป็นต้น
              ยุง เป็นพาหะนำโรคสำคัญเพราะเป็นแหล่งเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของเชื้อโรคหลายชนิด การแพร่กระจายและความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับเชื้อโรคและชีววิทยาของยุงพาหะแต่ละชนิด เช่น การติดเชื้อมาลาเรียเกิดจากการกัดของยุงก้นปล่องระยะติดต่อเพียงครั้งเดียวซึ่งแตกต่างจากโรคเท้าช้างซึ่งต้องเกิดจากการกัดซ้ำของยุงเสือนับร้อยครั้งติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น นอกจากนี้ยุงลายบ้านพาหะนำไข้เลือดออกมีนิสัยกัดกินเลือดมากกว่าครั้งต่อหนึ่งอิ่ม (multiple feeding) ดังนั้นยุงพาหะระยะติดต่อเพียงตัวเดียวอาจทำให้คนเป็นไข้เลือดออกได้มากกว่าหนึ่งคน
              เราเผชิญกับปัญหาสุขภาพจากโรคที่นำโดยแมลงมายาวนานแล้ว 4,000-5,000 ปีก่อน ตามหลักฐานในตำราแพทย์ โบราณ “Nei Ching” ซึ่งบันทึกกลุ่มอาการคล้ายไข้มาลาเรีย  ในขณะที่เราเพิ่งจะรู้ว่ายุงเป็นพาหะนำโรคในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 เท่านั้น อย่างไรก็ตามมาลาเรียยังกลับเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่องตามประเทศในภูมิภาคเขตร้อน และซ้ำร้ายยังกลับมาระบาดในอีกหลายประเทศที่เคยกำจัดไปแล้วเนื่องจากหลายปัจจัยหลัก เช่น ความยากจน การเคลื่อนย้ายและอพยพของประชากรโลก เพราะปัญหาทางการเมือง สงคราม และการท่องเที่ยว การดื้อยาและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินเลือดของยุงพาหะ และการดื้อยารักษาของเชื้อมาลาเรีย
              โดยล่าสุดใช้กลยุทธ 2 วิธีคือ ค้นหา และรักษาผู้ป่วยให้หายให้เร็วที่สุด และการควบคุมด้วยหลักการไม่ให้ยุงพาหะใกล้ชิดคน  อาจด้วยวิธีการนอนในมุ้ง การใช้ยาทาไล่และกันยุง นอกจากนี้ยังมีการระดมทุนวิจัยมหาศาลมาศึกษาวิจัยด้วยเทคโนโลยีตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงชั้นสูง เช่น ศาสตร์ทางด้านชีวโมเลกุล วิจัยในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม ใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมจัดการข้อมูลให้เกิดสารสนเทศที่เป็นระบบเช่น ข้อมูลระบาดวิทยาของโรค ข้อมูลการสำรวจโลกด้วยดาวเทียม ข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์
              จนถึงล่าสุดข้อมูลทางชีวสารสนเทศ (Bioinformatics) มาผสมผสานก่อให้เกิดการประเมินผลจากข้อมูลที่เก็บในหลายมิติ เพื่อประโยชน์ในการทำนายการระบาดของโรคล่วงหน้า การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค การพัฒนายารักษาและยาฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพชนิดใหม่ การปรับแต่งพันธุกรรมของยุงพาหะให้ขาดคุณสมบัติการเป็นพาหะ การศึกษากลไกและยีนที่ควบคุมการดื้อยาฆ่าแมลง เป็นต้น
              การวิจัยเชิงลึกทำให้พบว่า ยุงพาหะแต่ละชนิดมีหน่วยพันธุกรรมเฉพาะควบคุม กำจัด ป้องกัน ปัจจัยภายนอกไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรคหรือเป็นสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมพาหะ เข้ามารบกวนหรือทำอันตรายธรรมชาติของชีววิทยาของมัน ดังนั้น ยุงพาหะยังอยู่รอด เชื้อโรคยังอยู่รอด ภายใต้สภาพแวดล้อมเหมาะสม การระบาดยังคงดำเนินต่อไปยากจะหยุดยั้ง
              การป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัดน่าจะเป็นคำตอบสุดท้าย และเป็นหลักการที่ถูกสตางค์ เหมาะสมและดีที่สุดในสถานการณ์ขณะนี้ ดังที่ นิตยสารMedicalLink (ฉบับ 006) ได้กล่าวไว้
              สภาพปัญหาดังกล่าว  ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาสมุนไพรไล่ยุง ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลในการนำมาสมุนไพรมาใช้ไล่ยุง อันจะส่งผลให้มีความปลอดภัยจากโรคระบาดของยุงได้

วัตถุประสงค์
              รายงาน สมุนไพรไล่ยุง มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
              1. เพื่อเป็นการศึกษาหาสมุนไพรที่สามารถใช้ป้องกันยุงได้
              2. เพื่อเป็นการนำสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ได้
              3. เพื่อทำเทียนหอมตะไคร้ในการใช้ป้องกันยุง
              4. เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
              5. เพื่อให้เกิดความคิดจินตนาการอย่างสร้างสรรค์และการระดมความคิด (brainstorm) ภายในกลุ่ม
ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ
              รายงาน เรื่องสมุนไพรไล่ยุง ใช้ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า ตั้งแต่วันที่ 23 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2557 ถึงวันที่ 31 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557 สถานที่ดำเนินการ ได้แก่ โรงเรียนยโสธรพิทยาคม

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
              1. ได้ศึกษาหาสมุนไพรที่สามารถใช้ป้องกันยุงได้
              2. ได้นำสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ได้
              3. ได้ทำเทียนหอมตะไคร้ในการใช้ป้องกันยุง
              4. ได้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
              5. ได้เกิดความคิดจินตนาการอย่างสร้างสรรค์และการระดมความคิด (brainstorm) ภายในกลุ่ม















บทที่  2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

              รายงาน เรื่อง สมุนไพรไล่ยุง ผู้ศึกษาได้คันคว้าเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยลำดับเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้
                   1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยุง
                   2.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสมุนไพร
                   3.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                  
              1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยุง
              ยุง (MOSQUITOES) ยุงเป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกแต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น จากหลักฐานทางฟอสซิลสามารถสันนิษฐานได้ว่า ยุงได้ถือกำเนิดขึ้นในโลกตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์เมื่อประมาณ 38-54 ล้านปีมาแล้ว ปัจจุบันพบว่าในโลกนี้มียุงประมาณ 3,450 ชนิด ส่วนในประเทศไทยพบว่ามียุงอย่างน้อย 412 ชนิด มีชื่อเรียกตามภาษาไทยแบบง่าย ๆ คือ ยุงลาย ( Aedes ) ยุงรำคาญ ( Culex ) ยุงก้นปล่อง ( Anopheles ) ยุงเสือหรือยุงลายเสือ ( Mansonia ) และ ยุงยักษ์หรือยุงช้าง ( Toxorhynchites ) ซึ่งไม่ครอบคลุมสกุลของยุงทั้งหมดที่มีอยู่ ส่วน “ ยุงด า ” ที่ปรากฏในต ารางเรียนของกระทรวงศึกษานั้นไม่สามารถระบุได้ว่าหมายถึงยุงอะไรจึงควรตัดออก ยุงเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กโดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาว 4-6 มม . บางชนิดมีขนาดเล็กมาก 2-3 มม . และบางชนิดอาจยาวมากกว่า 10 มม . ยุงมีส่วนหัว อก และท้อง มองเห็นได้อย่างชัดเจนและสามารถแยกออกจากแมลงชนิดอื่น ได้อย่างง่ายๆ โดยสังเกตจากรูปพรรณสัณฐาน ดังต่อไปนี้คือ มีปากคล้ายงวง ยื่นยาวออกไปข้างหน้า และมีปีกสำหรับบิน 1 คู่ ยุงมีวงจรชีวิตแบบสมบูรณ์ (holometabolous) ซึ่งประกอบด้วย ไข่ (egg) ลูกน้ำ (larva; พหูพจน์ =larvae) ตัวโม่ง (pupa; พหูพจน์ =pupae) และยุงตัวแก่ (adult) ยุงเมื่อลอกคราบออกจากระยะตัวโม่งได้ไม่กี่นาทีก็สามารถออกบินได้เลย อาหารที่ใช้ในระยะนี้ของทั้งตัวผู้และตัวเมียเป็นน้ำหวานจากดอกไม้หรือต้นไม้ การผสมพันธุ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในอากาศ บางชนิดการผสมพันธุ์เกิดขึ้นในขณะที่ยุงตัวผู้มีการบินวนเป็นกลุ่ม (swarming) โดยเฉพาะเวลาหัวค่ำและใกล้รุ่ง ตามพุ่มไม้ บนศีรษะ ทุ่งโล่ง หรือบริเวณใกล้กับเหยื่อ เป็นต้น และตัวเมียจะบินเข้าไปเพื่อผสมพันธุ์ ยุงตัวเมียส่วนใหญ่ผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวโดยที่เชื้ออสุจิจากตัวผู้จะถูกกักเก็บในถุงเก็บน้ำเชื้อ ซึ่งสามารถใช้ไปได้ตลอดชีวิตของมัน ส่วนยุงตัวผู้สามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง ยุงตัวเมียที่จับได้ตามธรรมชาติมักมีเชื้ออสุจิอยู่ในถุงเก็บน้ำเชื้อเสมอ ยุงตัวเมียเมื่อมีอายุได้ 2-3 วันจึงเริ่มออกหากินเลือดคนหรือสัตว์เพื่อนำเอาโปรตีนและแร่ธาตุไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตของไข่ในรังไข่ แต่มียุงบางชนิดที่ไม่จำเป็นต้องกินเลือดก็สามารถสร้างไข่ในรังไข่ได้ เช่น ยุงยักษ์ เลือดที่กินเข้าไปถูกย่อยหมดไปในเวลา 2-4 วัน แต่ถ้าอากาศเย็นลงการย่อยจะใช้เวลานานออกไป เมื่อไข่สุกเต็มที่ยุงตัวเมียจะหาแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการวางไข่ หลังจากวางไข่แล้วยุงตัวเมียก็ออกดูดเลือดใหม่และวางไข่ได้อีก บางชนิดที่มีอายุยืนมากอาจไข่ได้ร่วม 10 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 4-5 วัน แต่อาจเร็วกว่าหรือนานกว่า ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและชนิดของยุง ส่วนยุงตัวผู้ตลอดอายุขัยจะกินอาหารจากแหล่งน้ำหวานของดอกไม้หรือพืชที่ผลิตน้ำตาลในธรรมชาติ ในภูมิประเทศเขตร้อนตัวโม่งจะใช้เวลา 2-4 วัน ยุงตัวเต็มวัยลอกคราบออกมาไม่กี่นาทีก็สามารถบินได้ ยุงตัวเมียบางชนิดชอบกัดกินเลือดคน philic) บางชนิดชอบกินเลือดสัตว์ (zoophilic) บางชนิดกัดดูดเลือดโดยไม่เลือก ยุงสามารถเสาะพบเหยื่อได้โดยอาศัยปัจจัยหลายประการ เช่น กลิ่นตัว คาร์บอนไดออกไซด์ ( ที่ออกมาจากลมหายใจ ) หรืออุณหภูมิของร่างกาย นิสัยการกินเลือดของยุงมีความสำคัญในด้านการแพร่เชื้อโรคหรือปรสิตต่าง ๆ ยุงส่วนมากจะบินกระจายจากแหล่งเพาะพันธุ์ไปได้ไกลออกไปในรัศมีประมาณ 1-2 กิโลเมตร โดยบินทวนลมตามกลิ่นเหยื่อไป กระแสลมที่แรงอาจทำให้ยุงบางชนิดแพร่ออกจากแหล่งเพาะพันธุ์ไปได้ไกลยิ่งขึ้น ในปัจจุบันยุงสามารถแพร่ไปจากประเทศหนึ่งไปสู่ประเทศหนึ่งหรือทวีปหนึ่งไปยังอีกทวีปหนึ่ง โดยอาศัยเครื่องบิน เรือหรือรถยนต์โดยสาร
              ในประเทศเขตร้อน ยุงตัวเมียส่วนใหญ่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ 2-3 สัปดาห์ หรือถ้าอุณหภูมิ ความชื้นและแสงสว่างเหมาะสมก็อาจนานถึง 4-6 สัปดาห์ หรือนานกว่านี้ ส่วนยุงตัวผู้โดยทั่วไปมีอายุประมาณ 1 สัปดาห์ ยุงก้นปล่องมีความสำคัญในทางการแพทย์โดยเฉพาะเป็นพาหนะโรคมาลาเรีย ในประเทศไทยเท่าที่พบในปัจจุบันมียุงก้นปล่องอย่างน้อย 73 ชนิด แต่มีเพียง 3 ชนิดที่เป็นพาหนะสำคัญ สังเกตยุงชนิดนี้ได้ง่ายเวลามันเกาะพัก จะยกก้นชี้เป็นปล่อง ยุงลายที่พบตามบ้านเรือนหรือชนบท ( Aedes. aegypti, และ Aedesalbopictus ) เป็นพาหนะสำคัญของโรคไข้เลือดออก ส่วนยุงลายป่าเป็นพาหะโรคเท้าช้าง ยุงลายชนิด Ae. aegyptiหรือ ยุงลายบ้าน พบบ่อยเป็นประจำในเขตเมือง มีขนาดค่อนข้างเล็ก บินได้ว่องไว บน scutumมีลายสีขาวรูปเคียว 2 อันอยู่ด้านข้าง มีขาลายชัดเจน ยุงชนิดนี้เพาะพันธุ์ในภาชนะที่มีน้ำขังทุกขนาดทั้งในและนอกบ้าน ชอบกัดกินเลือดคนมากกว่ากินเลือดสัตว์ มักหากินเวลากลางวันช่วงสายและบ่าย ยุงลายชอบเข้ากัดคนทางด้านมืดหรือที่มีเงาโดยเฉพาะบริเวณขาและแขน ขณะที่กัดมักไม่ค่อยรู้สึกเจ็บ คนถูกกัดจึงไม่รู้สึกตัว ยุง Ae. aegyptiกัดทั้งในบ้านและนอกบ้าน
 และเกาะพักตามมุมมืดในห้อง โอ่ง ไห หรือตามพุ่มไม้ที่เย็นชื้น ยุงลายอีกชนิดหนึ่ง คือ Ae. albopictusพบได้ทั่วไปในเขตชานเมือง ชนบทและในป่า มีลวดลายที่ scutumแตกต่างจาก Ae. aegyptiคือมีแถบยาวสีขาวพาดผ่านตรงกลางไปตามความยาวของลำตัว เพาะพันธุ์ในภาชนะที่มีน้ำขัง กระบอกไม้ โพรงไม้ กะลามะพร้าว ใบไม้ ฯลฯ ยุงชนิดนี้มีอุปนิสัยคล้าย ๆ กับ Ae. aegyptiแต่มีความว่องไวน้อยกว่ายุงรำคาญมีหลายชนิดที่ไม่ใช่ก่อความรำคาญเพียงอย่างเดียว แต่เป็นพาหะที่สำคัญของทั้งไวรัสไข้สมองอักเสบและโรคเท้าช้าง ลูกน้ำยุงรำคาญมักอาศัยอยู่ในน้ำไม่ว่าจะเป็นน้ำนิ่งหรือน้ำไหล ที่ค่อนข้างสกปรกที่มีไนโตรเจนสูงหรือมีการหมักเน่าของพืช ยุงรำคาญ ที่พบบ่อยในเขตเมือง ได้แก่ Culexquinquefasciatusเป็นยุงสีน้ำตาลอ่อน เพาะพันธุ์ในน้ำเสีย ตามร่องระบายน้ำ คูและหลุมบ่อต่าง ๆ ยุงรำคาญพบบ่อยในชนบท ได้แก่ Cx. tritaeniorhynchusและ Cx. vishnu, เนื่องจากมีท้องนาเป็นแหล่งเพาะพันธุ์หลัก โดยเฉพาะช่วงที่ไถนา และบริเวณหญ้าแฉะรกร้าง จึงมีมากในฤดูฝน ยุงชนิดนี้ชอบกัดสัตว์ พวกวัว ควายและหมูมากกว่าคน นอกจากก่อความรำคาญแล้วยังเป็นพาหนะนำโรคไข้สมองอักเสบ ยุงที่ก่อความรำคาญอีกสกุลหนึ่งที่มักกัดในเวลาพลบค่ำ มีขนาดใหญ่บินช้าๆ และกัดเจ็บ คือ ยุง Armigeresไม่มีชื่อภาษาไทย ยุงลายเสือหรือยุงเสือ ลำตัวและขามีลวดลายค่อนข้างสวยงาม บางชนิดมีสีเหลืองขาวสลับดำคล้ายลายของเสือโคร่ง เช่น Ma. uniformisบางชนิดมีลายออกเขียว คล้ายตุ๊กแก เช่น Ma. annuliferaยุงเหล่านี้ชอบเพาะพันธุ์ในบริเวณที่เป็นหนอง คลอง บึง สระ ที่มีพืชน้ำพวก จอกและ ผักตบชวา อยู่ ยุงลายเสือหลายชนิดเป็นพาหะของโรคเท้าช้างในภาคใต้ของประเทศไทย บางชนิดเป็นพาหะบริเวณชายแดนไทย - พม่า
              ในประเทศไทยมียุงเป็นพาหนะนำโรคอยู่มากเนื่องจากสภาพแวดล้อมเหมาะกับการเจริญเติบโตของยุง ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตมาก กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงธารณสุขจึงไดจัดทำโครงการควบคุมยุงในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ..2493 จนถึงปัจจุบัน จากการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2551ในรอบ10สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงวันที่ 8 มีนาคม ทั่วประเทศมีรายงานผู้ป่วยแล้ว 5,836 ราย เสียชีวิต 7 รายจำนวนผู้ป่วยสูงกว่าช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 77 พบในภาคกลางมากที่สุด 3,669 ราย เสียชีวิต 6 รายรองลงมาคือภาคใต้ป่วย 1,015 ราย เสียชีวิต 1 ราย ภาคเหนือป่วย 655ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือป่วย 498 ราย ส่วน
ใน กทม. พบป่วย 1,037 ราย ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิต การป้องกันและควบคุมยุงในปัจจุบันนี้จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆและสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก สำหรับประเทศไทยนั้น เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ประเทศของเรามีพืชพรรณไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือนำมาเพาะปลูกได้ไม่น้อยกว่า
 20,000ชนิด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 8 ของพืชพรรณไม้ที่มีอยู่ในโลกนี้ และมีพืชพรรณไม้ไม่น้อยกว่า 500 ชนิด ที่บรรพบุรุษของเราไดคัดเลือกมาอย่างชาญฉลาด เพื่อนำมาใช้เป็นอาหารและสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ถือเป็นบรรพบุรุษของการวิจัย ที่ชี้และเน้นให้เห็นของขุมทรัพย์อันมีค่าของพืชสมุนไพรที่คนยุคใหม่อย่างพวกเราสามารถนำมาศึกษาวิจัยต่อยอด หรือนำมาเพื่อประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆได้อีกมากมายสมุนไพรหรือพืชพื้นบ้านหลายชนิดที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ตะไคร้หอม เปลือกส้ม เปลือกมะกรูด เตย และ ขมิ้น ซึ่งมีสารเคมีที่สามารถใช้ในการกำจัดลูกน้ำได้ จากการสังเกตเห็นว่า ตะไคร้หอมมีฤทธิ์ในการไล่ยุงได้ดี ตะไคร้หอมมีประสิทธิภาพสูงในการไล่ยุงซึ่งเป็นพาหนะสำคัญในการน าโรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเลีย และโรคอื่นๆในประเทศไทยและต่างประเทศ ข้อดีของตะไคร้หอมอีกอย่างหนึ่งคือมีกลิ่นหอมไม่ก่อให้เกิดมลภาวะมีความคงตัวทางชีวภาพสูงเก็บรักษาไว้ได้นานโดยที่การออกฤทธิ์ไล่ยุงยังมีประสิทธิภาพดี ดังนั้นการทดลองครั้งนี้ได้ศึกษาสมุนไพรที่สามารถไล่ยุงได้ เพื่อช่วยในการไล่ยุงไม่ให้ยุงกัดและแพร่เชื้อ ซึ่งจะนำมาสู่โรคต่างๆได้ การป้องกันยุงกัดเป็นวิธีที่สามารถลดความรำคาญที่เกิดจากยุงและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่มียุงเป็นพาหะ
             
              2.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมสมุนไพร
              คำว่า สมุนไพร ตาม พระราชบัญญัติยา หมายถึง "ยาที่ได้จากพืช สัตว์ หรือแร่ ซึ่งยังไม่ได้ผสม ปรุง หรือเปลี่ยนสภาพ" เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ซึ่งยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้าสมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปต่าง ๆ เข่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่ง อย่างไรก็ตามในความรู้สึกของคนทั่ว ๆ ไป เมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักจะนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าสัตว์ หรือแร่ มีการนำมาใช้น้อย และใช้ในโรคบางชนิดเท่านั้น
              พืชสมุนไพร หมายถึงพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ปรุงหรือประกอบเป็นยารักษา โรคต่าง ๆ ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพร่างกายได้
              1. ความสำคัญในด้านสาธารณสุข
              พืชสมุนไพร เป็นผลผลิตจากธรรมชาติ ที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เป็นประโยชน์ เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่โบราณกาลแล้ว เช่นในเอเชียก็มีหลักฐานแสดงว่ามนุษย์รู้จักใช้พืชสมุนไพรมากว่า 6,000 ปี แต่หลังจากที่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการสังเคราะห์ และผลิตยาจากสารเคมี ในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ง่าย สะดวกสบายในการใช้มากกว่าสมุนไพร ทำให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพรลดลงมาเป็นอันมาก เป็นเหตุให้ความรู้วิทยาการด้านสมุนไพรขาดการพัฒนา ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ในปัจจุบันทั่วโลกได้ยอมรับแล้วว่าผลที่ได้จากการสกัดสมุนไพร ให้คุณประโยชน์ดีกว่ายา ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับในประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ มีพืชต่าง ๆ ที่ใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างมากมายนับหมื่นชนิด ยังขาดก็แต่เพียงการค้นคว้าวิจัยในทางที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น ความตื่นตัวที่จะพัฒนาความรู้ด้านพืชสมุนไพร จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีการเริ่มต้นนโยบายสาธารณสุขขั้นมูลฐานอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปี พ.. 2522 โดยเพิ่มโครงการสาธารณสุขขั้นมูลฐานเข้าในแผนพัฒนาการสาธารณสุข ตามแผนพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (.. 2520-2524) ต่อเนื่องจนถึงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (.. 2535-2539) โดยมี กลวิธีการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยในงานสาธารณสุขมูลฐาน คือ
              (1) สนับสนุนและพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีพื้นบ้านอันได้แก่ การแพทย์แผนไทย เภสัช กรรมแผนไทย การนวดไทย สมุนไพร และเทคโนโลยีพื้นบ้าน เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา สุขภาพของชุมชน
              (2) สนับสนุนและส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง โดยใช้ สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้าน การนวดไทย ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเป็นระบบสามารถปรับประสานการดูแลสุขภาพแผนปัจจุบันได้ อาจกล่าวได้ว่าสมุนไพรสำหรับสาธารณสุขมูลฐานคือสมุนไพรที่ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ และการรักษาโรค/อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น                  
              2. ความสำคัญในด้านเศรษฐกิจ
              ในปัจจุบันพืชสมุนไพรจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ต่างประเทศกำลังหาทางลงทุนและคัดเลือกสมุนไพรไทยไปสกัดหาตัวยาเพื่อรักษาโรคบางโรคและมีหลายประเทศที่นำสมุนไพรไทยไปปลูกและทำการค้าขายแข่งกับประเทศไทย สมุนไพรหลายชนิดที่เราส่งออกเป็นรูปของวัตถุดิบคือ กระวาน ขมิ้นชัน เร่ว เปล้าน้อยและมะขามเปียกเป็นต้น ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้ตลาดต่างประเทศยังคงมีความต้องการอีกมาก และในปัจจุบันกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสนใจในการศึกษาเพิ่มขึ้นและมีโครงการวิจัยบรรจุไว้ในแผนพัฒนาระบบการผลิต การตลาดและการสร้างงานในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (.. 2530-2534) เพื่อหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาคุณภาพและแหล่งปลูกสมุนไพรเพื่อส่งออก โดยกำหนดชนิดของสมุนไพรที่มีศักยภาพ 13 ชนิด คือ มะขามแขก กานพลู เทียนเกล็ดหอย ดองดึง เร่ว กระวาน ชะเอมเทศ ขมิ้น จันทร์เทศ ใบพลู พริกไทย ดีปลี และน้ำผึ้ง
              ประโยชน์ของพืชสมุนไพร
              1.สามารถรักษาโรคบางชนิดได้ โดยไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งบางชนิดอาจมีราคาแพง และต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก อีกทั้งอาจหาซื้อได้ยากในท้องถิ่นนั้น
            2.ให้ผลการรักษาได้ดีใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน และให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้มากกว่าแผนปัจจุบัน
            3.สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นเพราะส่วนใหญ่ได้จากพืชซึ่งมีอยู่ทั่วไปทั้งในเมืองและ ชนบท
            4.มีราคาถูก สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาแผนปัจจุบัน ที่ต้องสั่งซื้อจากต่าง ประเทศเป็นการลดการขาดดุลทางการค้า
            5.ใช้เป็นยาบำรุงรักษาให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง
            6.ใช้เป็นอาหารและปลูกเป็นพืชผักสวนครัวได้ เช่น กะเพรา โหระพา ขิง ข่า ตำลึง
            7.ใช้ในการถนอมอาหารเช่น ลูกจันทร์ ดอกจันทร์และกานพลู
            8.ใช้ปรุงแต่ง กลิ่น สี รส ของอาหาร เช่น ลูกจันทร์ ใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหารพวก ขนมปัง เนย ไส้กรอก แฮม เบคอน
            9.สามารถปลูกเป็นไม้ประดับอาคารสถานที่ต่าง ๆ ให้สวยงาม เช่น คูน ชุมเห็ดเทศ
            10.ใช้ปรุงเป็นเครื่องสำอางเพื่อเสริมความงาม เช่น ว่านหางจระเข้ ปรนะคำดีควาย
            11.ใช้เป็นยาฆ่าแมลงในสวนผัก, ผลไม้ เช่น สะเดา ตะไคร้ หอม ยาสูบ
            12.เป็นพืชที่สามารถส่งออกทำรายได้ให้กับประเทศ เช่น กระวาน ขมิ้นชัน เร่ว
            13.เป็นการอนุรักษ์มรดกไทยให้ประชาชนในแต่ละท้องถิ่น รู้จักช่วยตนเองในการ นำพืชสมุนไพรในท้องถิ่นของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามแบบแผนโบราณ
            14.ทำให้คนเห็นคุณค่าและกลับมาดำเนินชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติยิ่งขึ้น
            15.ทำให้เกิดความภูมิใจในวัฒนธรรม และคุณค่าของความเป็นไทย
             
              3.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เทียนหอมตะไคร้ไล่ยุง
               ยุง เป็นพาหะนะนำโรคหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย โรคเท้าช้าง เป็นต้น จึงมีผู้คิดทำตัวยาเพื่อกำจัดและป้องกันยุงขึ้นมาหลายชนิดเช่น ครีมทากันยุง ยาจุดกันยุง ยาฉีดกันยุง น้ำมันไล่ยุง เป็นต้น แต่ยากันยุงเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายเพราะมีสารที่เป็นอันตรายผสมอยู่ ซึ่งทำให้ผู้ใช้บางคนเกิดอาการแพ้ ผู้จัดทำโครงงานได้พบว่ามีชาวบ้านในท้องถิ่นได้นำใบตะไคร้หอมทำเป็นแล้ววางไว้ใกล้ตัว พบว่าสามารถไล่ยุงได้ ผู้จัดทำจึงได้ทำเทียนหอมตะไคร้ไล่ยุงขึ้น เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกขึ้นและหยุดปัญหาการแพ้สารเคมี

สมุนไพรกำจัดยุง
                ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม “โรคอุบัติซ้ำ” ที่เป็นปัญหาสำคัญของโลก และเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ปี พ.. 2548 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทยมีผู้ป่วยไข้เลือดออก 45,893 รายอัตราป่วย 74 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 71 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.15 รูปแบบการเกิดโรคไข้เลือดออกของประเทศไทยยังคงไม่เปลี่ยนแปลง คือมีผู้ป่วยมากในฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี กลุ่มเสี่ยงเป็นกลุ่มอายุ 0-14 ปี และในกลุ่มอายุ 15-24 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มอัตราป่วยสูงขึ้น พบผู้ป่วยไข้เลือดออกกระจายทุกจังหวัดของประเทศไทย (ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ. 2552)
            ยุงเป็นแมลงที่พบได้ทั่วไปในเกือบทุกภูมิภาคของโลก ยกเว้นเฉพาะในพื้นที่ที่หนาวจัดบริเวณขั้วโลกเท่านั้น มีรายงานว่าในโลกนี้มียุงมากกว่า 4,000 ชนิด ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่ายุงนอกจากจะสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่มนุษย์โดยการกัดดูดเลือดทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนแล้ว บางชนิดยังเป็นพาหะนำโรคร้ายมาสู่มนุษย์ด้วย เช่น ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti ) และ ยุงลายสวน (Ae. albopictus ) นำโรคไข้เลือดออก ยุงก้นปล่องนำโรคมาลาเรีย ยุงรำคาญ (Culex quinquefasciatus ) นำโรคเท้าช้าง และยุงรำคาญ (Culex tritaeniorhynchus ) นำโรคไข้สมองอักเสบ เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่ายุงเป็นแมลงที่มีความสำคัญทางการแพทย์ซึ่งเราควรต้องให้ความสนใจในการป้องกันกำจัดเป็นอย่างยิ่ง(อภิวัฏ ธวัชสิน, อุษาวดี ถาวระและ เย็นจิตร เตชะดำรงสิน. 2545)
การรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออกในแต่ละปี โดยการลดแหล่งแพร่พันธุ์เพื่อควบคุมจำนวนยุงลาย ยังคงเป็นวิธีเดียวที่ใช้ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในปัจจุบัน พร้อมทั้งการเกิดโรคชิคุนกุนยาที่มีพาหะชนิดเดียวกัน คือ “ยุงลาย” เกิดการระบาดในปี 2552 นี้ เป็นสิ่งที่ยืนยันว่า ยังไม่สามารถจัดการกับยุงลายได้อย่างเด็ดขาด และในการกำจัดยุงลายต้องใช้งบประมาณที่ค่อนข้างสูง จึงจำเป็นต้องหาวิธีการควบคุม กำจัด ลูกน้ำยุงลายที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสม สะดวกต่อการใช้ ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์อื่นๆ ไม่มีพิษตกค้าง และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม การใช้สารสกัดจากธรรมชาติซึ่งส่วนมากจะได้จากพืชชนิดต่างๆ มาใช้ในการกำจัดยุง   ปัจจุบันมีงานวิจัยที่สนใจในการนำพืชสมุนไพรมาใช้ในการควบคุมและกำจัดยุง เช่น สารสกัดจากผกากรองและแมงลักคา (Pisan Tanprasit. 2005) สารสกัดจากใบน้อยหน่า (Susan George and S. Vincent. 2005) ซึ่งพบว่าเป็นทางเลือกที่ดีในการควบคุมและกำจัดยุง เนื่องจากการใช้สารเคมีส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการดื้อยาในยุง ดังนั้นการใช้สารสกัดจากพืชจึงเป็นวิธีที่ดีในการทดแทนสารเคมี (สุวรรณี พรหมศิริ. 2003)
โดยการทำโครงงานครั้งนี้ จึงสนใจศึกษาการควบคุมลูกน้ำยุงลายด้วยชีววิธี โดยการเลือกพืชที่พบในท้องถิ่น หาง่าย มีจำนวนมาก และไม่มีคุณค่าเชิงพาณิชย์ จึงคัดเลือกต้นผักคราดหัวแหวน
ต้นแมงลักคาและต้นสาบเสือ เพื่อศึกษาฤทธิ์ในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย

การศึกษาวิจัยเศรษฐกิจสมุนไพรไทย
              ปัจจุบัน กระแสนิยมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น สมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่ง ในการตอบสนองความต้องการดังกล่าว ประกอบกับประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสมุนไพรที่สาคัญ โดยวัตถุดิบสมุนไพรสามารถนามาแปรรูปเบื้องต้นเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย และเป็นที่ต้องการ ของตลาด ทั้งในรูปของยารักษาโรค อาหารเสริม เครื่องสาอาง ยากาจัดศัตรูพืช เป็นต้น สมุนไพรไทยจึง มีโอกาสในการพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจสาคัญที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ
            วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์การผลิต การตลาดและการแปรรูปของสมุนไพร 4 ชนิด คือ ว่านหางจระเข้ ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอม และไพล รวมทั้งศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิต มูลค่าเพิ่มจากการแปรรูป ต้นทุนและผลตอบแทนของผู้ประกอบการ รวมถึง วิถีตลาดและส่วนเหลื่อมตลาด วิเคราะห์ในเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยได้ข้อมูลจากการสารวจเกษตรกรและผู้ประกอบการ ในจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสาคัญรวม 150 ราย
ผลจากการศึกษา พบว่า ในด้านการผลิต ว่านหางจระเข้สามารถให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่มากที่สุด 9,834 กิโลกรัม รองลงมาคือ ตะไคร้หอม ไพล (อายุ 2ปี) และฟ้าทะลายโจร โดยเกษตรกรจะเสียต้นทุนจากการปลูกไพล (อายุ 2 ปี) มากที่สุด เฉลี่ยไร่ละ 24,099 บาท รองลงมาคือตะไคร้หอม ว่านหางจระเข้ และฟ้าทะลายโจร ซึ่งไพล (อายุ 2ปี) สามารถสร้างกาไรสุทธิให้แก่เกษตรกรได้มากที่สุด เฉลี่ยไร่ละ 14,008 บาท รองลงมาคือ ว่านหางจระเข้ ฟ้าทะลายโจร และตะไคร้หอม
            ด้านการแปรรูป ลูกเต๋าว่านหางจระเข้บรรจุกระป๋อง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการได้มากที่สุดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.02 บาท ส่วนฟ้าทะลายโจรแห้ง น้ามันตะไคร้หอม และไพลผง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.58 1.79 บาท และ 20.50 บาท ตามลาดับ
ด้านการตลาด พบว่า ลูกเต๋าว่านหางจระเข้บรรจุกระป๋อง มีส่วนเหลื่อมการตลาดระหว่างเกษตรกรและผู้ประกอบการค้ามากที่สุด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.59 บาท รวมทั้งมีต้นทุนการตลาด และสร้างกาไรให้แก่ผู้ประกอบการค้าได้มากที่สุดเช่นกัน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.23 และ 12.36 บาท ตามลาดับ ส่วนฟ้าทะลายโจรผง น้ามันตะไคร้หอม และน้ามันหอมระเหยจากไพร มีต้นทุนการตลาดเฉลี่ย กิโลกรัมละ 18 470 และ 196.14 บาทตามลาดับ และสร้างกาไรให้แก่ผู้ประกอบการค้า เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.23 1,022 และ 840.45 บาท ตามลาดับ
            จากการศึกษา พบปัญหาด้านการผลิตที่ยังขาดการจัดระบบการผลิตดีที่เหมาะสม (GAP) ขาดการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ และปัญหาที่เกิดจากโรครากเน่า ส่วนด้านการแปรรูปบางแหล่งผลิตยังไม่ได้มาตรฐาน ขาดการนาเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในการผลิต ด้านการตลาด พบปัญหาเรื่อง ขาดแคลนตลาดรับซื้อผลผลิต ตลาดมีความต้องการไม่แน่นอน มีการกาหนดโควตาในการรับซื้อผลผลิต
            ดังนั้น รัฐบาลควรดาเนินนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยจัดทาระบบการผลิตที่เหมาะสม (GAP) พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้ และให้การรับรองGAP จัดทาระบบ Contract Farming เร่งรัดการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ ในด้านการแปรรูป ให้การสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่ม วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย จัดทามาตรฐานการปฏิบัติในการแปรรูป (GMP) รวมทั้งถ่ายทอดและ ให้การรับรอง GMP จัดทามาตรฐานผลิตภัณฑ์ สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้แก่กลุ่มเกษตรกร ในด้านการตลาด ควรสนับสนุนการสร้างเสริมประสิทธิภาพการตลาด โดยวิจัยตลาดถึงความต้องการ ของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดให้แก่กลุ่มเกษตรกร รวมถึง การประชาสัมพันธ์/จัดงานแสดงสินค้าเพื่อขยายฐานตลาดให้เพิ่มมากขึ้น




















บทที่  3
วิธีดำเนินการ

              รายงาน เรื่อง สมุนไพรไล่ยุง ผู้ศึกษาได้ดำเนินการ ดังนี้
วิธีดำเนินการ
              รายงาน เรื่อง สมุนไพรไล่ยุง มีวิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
1.    ตั้งประเด็นชื่อเรื่องที่ค้นคว้าวิจัย
2.    กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดทำ
3.  สำรวจแหล่งความรู้
                4.  วางโครงเรื่อง
5.    สืบค้นข้อมูลจากหนังสือทั่วไป และสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต
6.    รวบรวมและจดบันทึกข้อมูล
                7.  เรียบเรียงและจัดทำรายงานฉบับร่าง
  8.  นำส่งอาจารย์ประจำวิชาเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยและความถูกต้อง
  9.  ปรับปรุงแก้ไขให้เรียบร้อย และจัดทำเป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์
1.ตั้งประเด็นชื่อเรื่องที่ค้นคว้าวิจัย
               สมาชิกในกลุ่มร่วมกันเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับชื่อเรื่องที่น่าสนใจ ตามความคิดของตน และนำมาวิเคราะห์ว่าชื่อใด เหมาะสมมากที่สุด
2.กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดทำ
                     รายงาน เรื่อง สมุนไพรไล่ยุง มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
                   1) ปัญหาจากจำนวนประชากรยุงที่ล้นหลาม
                   2) ผลกระทบที่เกิดจากยุง
                   3) แนวทางการป้องกันยุง
3.สำรวจแหล่งความรู้
              สำรวจหาว่ามีแหล่งความรู้ใดบ้างที่จะสามารถให้ข้อมูลในการค้นคว้าวิจัยเรื่องนี้  ซึ่งจากการสำรวจก็ได้แหล่งข้อมูล คือ ห้องสมุด  และอินเทอร์เน็ต
4.วางโครงเรื่อง
     จัดวางโครงเรื่องตามวัตถุประสงค์ในการจัดทำ  ได้แก่
                     1) ปัญหาจากจำนวนประชากรยุงที่ล้นหลาม
                   2) ผลกระทบที่เกิดจากยุง
                   3) แนวทางการป้องกันยุง
5.สืบค้นข้อมูลจากหนังสือวิทยาศาสตร์ทั่วไป และสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต
              สืบค้นข้อมูลตามแหล่งข้อมูลข้างต้น  ให้ครบทุกเนื้อหาสำคัญ ได้แก่
1)    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยุง
2)    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสมุนไพร
6.รวบรวมและจดบันทึกข้อมูล
              เมื่อสืบค้นเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว  จากนั้นก็รวบรวมเนื้อหาและบันทึกข้อมูลที่ได้ศึกษาค้นคว้ามา
7.เรียบเรียงและจัดทำรายงานฉบับร่าง
              เรียบเรียงเนื้อหาทั้งหมดเข้าด้วยกันและจัดทำเป็นรายงานฉบับร่าง จากนั้นนำไปส่งอาจารย์ประจำวิชาเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยและความถูกต้อง
8.นำส่งอาจารย์ประจำวิชาเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยและความถูกต้อง
              ขั้นตอนนี้  อาจารย์ประจำวิชาจะได้ตรวจความเรียบร้อยและความถูกต้อง  เมื่อมีข้อผิดพลาดอาจารย์ให้นำมาแก้ไขใหม่
9.ปรับปรุงแก้ไขให้เรียบร้อย และจัดทำเป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์
              นำมาปรับปรุงแก้ไขตามที่อาจารย์ให้คำแนะนำ  และจัดทำเป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์


















บทที่  4
ผลการดำเนินการ

              ในการศึกษาเรื่อง เรื่อง สมุนไพรไล่ยุง ผู้ศึกษาได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปรผลที่ได้จากการวิเคราะห์มีผลการดำเนินการ ดังนี้
              1.ปัญหาจากจำนวนประชากรยุงที่ล้นหลาม
              2.ผลกระทบที่เกิดจากยุง
              3.แนวทางการป้องกันยุง

               ทำให้ได้ผลการศึกษาค้นคว้าตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว   ดังนี้
              1.ปัญหาจากประชากรยุงที่ล้นหลาม
              ได้ทราบปัญหาจากจำนวนประชากรยุงที่ล้นหลาม คือเกิดการแพร่กระจายและความรุนแรงของโรคที่มากับยุงซึ่งขึ้นอยู่กับเชื้อของโรคและชีววิทยาของยุงพาหะแต่ละชนิด เช่น การติดเชื้อมาลาเรียเกิดจากการกัดของยุงก้นปล่องระยะติดต่อเพียงครั้งเดียวซึ่งแตกต่างจากโรคเท้าช้างซึ่งต้องเกิดจากการกัดซ้ำของยุงเสือนับร้อยครั้งติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น
             
              2. ผลกระทบที่เกิดจากยุง ได้แก่
           1. ไข้เดงกี่ และไข้เลือดออกเดงกี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี สายพันธุ์ 2501 (Dengue virus 2501) โดยมียุงลาย เป็นพาหะนำโรค ยุงลายมีลักษณะสีขาวสลับ ยุงลายเป็นยุงที่ออกดูดเลือดตอนกลางวัน น้ำลายของยุงลายจะมีเชื้อไวรัสเดงกีปนเปื้อนอยู่ เชื้อไวรัสสามารถเข้าสู่กระแสเลือดของคนที่ถูกยุงลายกัดได้ พบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ โดยผู้ใหญ่มักจะมีอาการไม่รุนแรงและเกิดภาวะแทรกซ้อนพบน้อยกว่าเด็ก แต่เมื่อใดถ้าอาการเกิดรุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้วมักจะพยากรณ์โรคเลวร้ายกว่าผู้ป่วยเด็ก โดยเชื้อไวรัสจะทำให้มีอาการไข้สูง ถ้ามีไข้เพียงอย่างเดียวจะเรียกว่าไข้เดงกี่ แต่ถ้าตรวจเลือดพบภาวะเกล็ดเลือดต่ำ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเลือดออกง่ายและมีการรั่วของพลาสมา จะเรียกว่าไข้เลือดออกเดงกี ทั้งนี้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกเดงกี่อาจมีน้อยมากคือมีไข้เพียงอย่างเดียว หรืออาจรุนแรงมากจนเกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตได้ ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนป้องกันไวรัสนี้ การรักษาจึงเน้นที่อาการและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคนี้ 
           2. โรคมาลาเรีย (Malaria)โรคมาลาเรีย หรือ ไข้จับสั่น หรือ ไข้ป่า เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม  ยุงที่เป็นพาหะนำโรคนี้คือ ยุงก้นปล่องซึ่งเป็นยุงที่มีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลหรือดำ จุดสังเกตคือเวลาเกาะแล้วดูดเลือดจะยกก้นขึ้นทำมุมกับผิวหนังประมาณ 45 องศา พบชุกชุมมากในฤดูฝนยุงสายพันธุ์นี้จะออกมากัดคนในช่วงเวลาหัวค่ำจนถึงดึก เด็กที่ได้รับเชื้อจะอาการหนักกว่าผู้ใหญ่ ปัจจุบันมียาฆ่าเชื้อพลาสโม-เดียมเฉพาะ แต่พบว่าเชื้อดื้อยาค่อนข้างมาก ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ดีสำหรับป้องกันโรคมาเลเรีย
3.โรคไข้สมองอักเสบ เจ อี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสJapanese encephalitis virus (JEV) ที่ได้ชื่อนี้เนื่องจากพบรายงานผู้ป่วยครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2476 โดยมียุงรำคาญ เป็นพาหะนำโรค ยุงรำคาญมีสีน้ำตาลหรือดำเชื้อไวรัสจะทำให้สมองเกิดการอักเสบ มีโอกาสสมองพิการและเสียชีวิตได้มาก ความสำคัญจึงอยู่ที่การป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ ซึ่งนอกจากจะต้องระวังไม่ให้ยุงกัดแล้ว ปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตั้งแต่เด็กอายุ 1 ปี สำหรับผู้ที่ติดเชื้อนี้แล้ว ไม่มียารักษาเฉพาะ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการให้ยาตามอาการและการระวังไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน เมื่อป่วยเป็นโรคนี้แล้วพบว่าอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 50
             
              3. แนวทางการป้องกันยุง
              วิธีกำจัดยุงมีหลากหลายรูปแบบ และหลากหลายวิธี ดังนี้
1. เลี้ยงปลาไว้กินลูกน้ำ
              ปลาที่นิยมเลี้ยงกันไว้กินลูกน้ำก็คือ ปลาหางนกยูง ปลาสอด ปลากัด โดยมักจะเลี้ยงปลาเหล่านี้ไว้ในโอ่ง หรือบ่อซีเมนต์ ไว้สำหรับกินลูกน้ำในน้ำ ซึ่งจะช่วยควบคุมยุงลายได้
2.ใช้แบคทีเรียกำจัดลูกน้ำ
              แบคทีเรียพวกนี้จะเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในดินตามธรรมชาติ จึงไม่เป็นพิษต่อคนและสัตว์ โดยหาซื้อได้ทั่วไปตามท้องตลาด ซึ่งจะมีชื่อเรียกทางการค้าแตกต่างกันไป เช่น Bactimos, Teknar, VectoBac, Larvitabฯลฯ และมีหลายสูตรให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับชนิดของแหล่งน้ำ และชนิดของลูกน้ำยุง
3. มะกรูด 
              นำผิวของผลมะกรูดสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาโขลกผสมกับน้ำโดยใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้วกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทา
4.ว่านน้ำ
              หั่นเหง้าสดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง







บทที่  5
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
             
              รายงาน เรื่อง สมุนไพรไล่ยุง สามารถสรุปและอภิปรายผลการดำเนินการ ดังนี้
สรุป
              การจัดทำรายงาน เรื่อง สมุนไพรไล่ยุง สามารถสรุปได้ ดังนี้

              1.ปัญหาจากจำนวนประชากรยุงที่ล้นหลาม คือ เกิดการแพร่กระจายและความรุนแรงของโรคที่มากับยุงซึ่งขึ้นอยู่กับเชื้อของโรคและชีววิทยาของยุงพาหะแต่ละชนิด เช่น การติดเชื้อมาลาเรียเกิดจากการกัดของยุงก้นปล่องระยะติดต่อเพียงครั้งเดียวซึ่งแตกต่างจากโรคเท้าช้างซึ่งต้องเกิดจากการกัดซ้ำของยุงเสือนับร้อยครั้งติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น นอกจากจำนวนของยุงและความรุนแรงของเชื้อที่เพิ่มมากขึ้นแล้วยังก่อให้เกิดการแพร่ระบาดในมนุษย์รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งกลายเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งในปัจจุบันด้วย 
              2.ผลกระทบที่เกิดจากยุงได้แก่
1. ไข้เดงกี่ และไข้เลือดออกเดงกี่
              เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี สายพันธุ์ 2501 (Dengue virus 2501) โดยมียุงลาย เป็นพาหะนำโรค ยุงลายมีลักษณะสีขาวสลับ ยุงลายเป็นยุงที่ออกดูดเลือดตอนกลางวัน น้ำลายของยุงลายจะมีเชื้อไวรัสเดงกี่ปนเปื้อนอยู่ เชื้อไวรัสสามารถเข้าสู่กระแสเลือดของคนที่ถูกยุงลายกัดได้ พบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ โดยผู้ใหญ่มักจะมีอาการไม่รุนแรงและเกิดภาวะแทรกซ้อนพบน้อยกว่าเด็ก แต่เมื่อใดถ้าอาการเกิดรุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้วมักจะพยากรณ์โรคเลวร้ายกว่าผู้ป่วยเด็ก โดยเชื้อไวรัสจะทำให้มีอาการไข้สูง ถ้ามีไข้เพียงอย่างเดียวจะเรียกว่าไข้เดงกี่ แต่ถ้าตรวจเลือดพบภาวะเกล็ดเลือดต่ำ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเลือดออกง่ายและมีการรั่วของพลาสมา จะเรียกว่าไข้เลือดออกเดงกี่ ทั้งนี้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกเดงกี่อาจมีน้อยมากคือมีไข้เพียงอย่างเดียว หรืออาจรุนแรงมากจนเกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตได้ ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนป้องกันไวรัสนี้ การรักษาจึงเน้นที่อาการและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคนี้ 
2. โรคมาลาเรีย (Malaria)
              โรคมาลาเรีย หรือ ไข้จับสั่น หรือ ไข้ป่า เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม  ยุงที่เป็นพาหะนำโรคนี้คือ ยุงก้นปล่องซึ่งเป็นยุงที่มีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลหรือดำ จุดสังเกตคือเวลาเกาะแล้วดูดเลือดจะยกก้นขึ้นทำมุมกับผิวหนังประมาณ 45 องศา พบชุกชุมมากในฤดูฝนยุงสายพันธุ์นี้จะออกมากัดคนในช่วงเวลาหัวค่ำจนถึงดึก เด็กที่ได้รับเชื้อจะอาการหนักกว่าผู้ใหญ่ ปัจจุบันมียาฆ่าเชื้อพลาสโม-เดียมเฉพาะ แต่พบว่าเชื้อดื้อยาค่อนข้างมาก ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ดีสำหรับป้องกันโรคมาเลเรีย
              3.แนวทางการป้องกันยุงเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตมนุษย์ถ้าเราไม่รู้จักป้องกันไม่ให้ยุงกัดเราอาจได้รับเชื้อที่มาจากยุงซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ เพื่อป้องกันอันตรายของเชื้อที่มากับยุงเราจึงมีวิธีกำจัดยุง ดังนี้
1. เลี้ยงปลาไว้กินลูกน้ำ
              ปลาที่นิยมเลี้ยงกันไว้กินลูกน้ำก็คือ ปลาหางนกยูง ปลาสอด ปลากัด โดยมักจะเลี้ยงปลาเหล่านี้ไว้ในโอ่ง หรือบ่อซีเมนต์ ไว้สำหรับกินลูกน้ำในน้ำ ซึ่งจะช่วยควบคุมยุงลายได้
2.ใช้แบคทีเรียกำจัดลูกน้ำ
              แบคทีเรียพวกนี้จะเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในดินตามธรรมชาติ จึงไม่เป็นพิษต่อคนและสัตว์ โดยหาซื้อได้ทั่วไปตามท้องตลาด ซึ่งจะมีชื่อเรียกทางการค้าแตกต่างกันไป เช่น Bactimos, Teknar, VectoBac, Larvitabฯลฯ และมีหลายสูตรให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับชนิดของแหล่งน้ำ และชนิดของลูกน้ำยุง
3. มะกรูด 
              นำผิวของผลมะกรูดสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาโขลกผสมกับน้ำโดยใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้วกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทา
4.ว่านน้ำ
              หั่นเหง้าสดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง
อภิปรายผล
              อภิปรายผล
              การจัดทำรายงาน เรื่อง สมุนไพรไล่ยุง สามารถอภิปรายผลได้ ดังนี้
              การนำสมุนไพรมาใช้กำจัดยุงให้เกิดประโยชน์สูงสุด  คือ การรู้จักนำสมุนไพรที่มีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า  แทนการใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดยุงที่มีสารประกอบเคมีซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตัวเรา การใช้สมุนไพรกำจัดยุงนี้นอกจากจะไม่เป็นอันตรายต่อเราแล้วยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย
              ข้อเสนอแนะ
              การจัดทำรายงาน เรื่อง สมุนไพรไล่ยุง มีข้อเสนอแนะดังนี้ ดังนี้
              การทำรายงานค้นคว้าฉบับนี้มีข้อมูลที่ครบถ้วนแต่อาจไม่สมบูรณ์เพียงพอ
ผู้สนใจจึงอาจจะได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเรื่อง สมุนไพรไล่ยุง





บรรณานุกรม

ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2557, จาก  http://girlyhealthy.blogspot.com/
ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2557, จาก  http://www.rspg.or.th/
ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2557, จาก  http://www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/n11.php